วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558



คำถาม

ทำไมถึงต้องปล่อยน้ำสกปรกลงในแม่น้ำมากกว่าที่จะช่วยกันรักษา
ความสะอาดของแม่น้ำเพราะเหตุใด อย่างไร

สาเหตุ 
ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำและน้ำเน่าเสีย

ปัจจุบันเราจะพบแหล่งน้ำที่เน่าสกปรกอยู่ทั่วไป น้ำลักษณะเช่นนี้ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคและบริโภคได้ ทั้งก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายและความเสียหายอย่างมหาศาลต่อการประมง การเกษตร การสาธารณสุข ประการสำคัญคือ ทำให้ระบบนิเวศธรรมชาติถูกทำลาย หรือเสื่อมคุณภาพจนไม่เหมาะที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ ทำให้เกิดการตายของสัตว์และพืชน้ำเป็นจำนวนมากทำให้แหล่งน้ำเกิดการเน่าและขาดออกซิเจนที่ละลายน้ำ แหล่งน้ำที่มีสารพิษพวกยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืชสะสมอยู่มาก รวมทั้งแหล่งน้ำที่มีคราบน้ำมันปกคลุม และ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ปล่อยสารพิษ และความร้อนลงสู่แหล่งน้ำ หากน้ำดื่มน้ำใช้มีสารพิษ และเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคปะปนมาจะก่อให้เกิดโรคนานาชนิดกับมนุษย์และสัตว์ น้ำที่เสื่อมคุณภาพหากนำมาผ่านกระบวนการกำจัดของเสียออก เพื่อให้ได้น้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดปราศจากเชื้อโรคและสารพิษ จะเป็นเหตุให้เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากร สิ้นเปลืองเงินในการจัดการเพื่อผลิตน้ำที่ได้คุณภาพเป็นจำนวนที่สูงมาก เนื่องจากมลพิษทางน้ำก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมนานาประการขึ้นกับระบบนิเวศธรรมชาติ แหล่งเกษตรกรรม แหล่งประมง และแหล่งชุมชน ดังนั้นจึงควรหาแนวทางป้องกันการเน่าเสียของน้ำ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาและงบประมาณในการแก้ไขน้ำเน่า ให้กลับมาเป็นน้ำที่ดีมีคุณภาพ

              ผลกระทบของน้ำเสียมีดังต่อไปนี้ คือน้ำจะมีสีและกลิ่นที่น่ารังเกียจ น้ำเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งของเชื้อโรคต่างๆ สู่มนุษย์ สัตว์ และพืช อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งมลพิษทางน้ำจะส่งผลให้มีการทำลายทัศนียภาพในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวด้วย

           สิ่งที่น่าวิตกคือ แหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุด คือ มหาสมุทรและทะเลนั้น ปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งสะสมสารมลพิษทางน้ำเกือบทุกชนิด หากเกิดการสะสมมากขึ้นเป็นลำดับ มนุษย์จะได้รับผลกระทบที่เป็นอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบัน และในอนาคต



     

     


  การกำจัดน้ำเสียและควบคุมมลพิษทางน้ำ

วิธีหนึ่งในการควบคุมการเกิดมลภาวะทางน้ำ ก็คือการไม่ผลิตสารมลพิษทางน้ำ หรือผลิตให้น้อยลงเท่าที่จะทำได้หากเกิดมลพิษทางน้ำขึ้นแล้วจะต้องมีการกำจัดมลพิษในน้ำให้เหลือน้อยที่สุดการกำจัด
น้ำเสียทำได้หลายวิธี ดังนี้

          1. การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ (self purification) 

          ในน้ำจะมีจุลินทรีย์โดยเฉพาะแบคทีเรีย ชนิดที่ใช้ออกซิเจน ทำหน้าที่กำจัดสารมลพิษในน้ำเสียอยู่แล้วโดยธรรมชาติ การย่อยสลายสารมลพิษที่เป็นสารอินทรีย์โดยแบคทีเรียทำให้ลดการเน่าเสียของน้ำ หากมีการควบคุมจำนวนแบคทีเรียให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป จนทำให้เกิดการขาดแคลนออกซิเจน หรือ
ไม่น้อยจนเกินไป จนเกิดการย่อยสลายไม่ทัน นอกจากนั้นยังต้องควบคุมปริมาณออกซิเจนในน้ำให้มีมากพอ
โดยจัดการให้อากาศในน้ำมีการหมุนเวียนตลอดเวลา เช่น จัดตั้งเครื่องตีน้ำ หรือการพ่นอากาศลงในน้ำเป็นต้น

          2. การทำให้เจือจาง (dilution)
          วิธีนี้เป็นการทำให้ของเสียหรือสารมลพิษเจือจางลงด้วยน้ำจำนวนมากพอ เช่นการระบายน้ำเสีย ลงแม่น้ำ ทะเล วิธีนี้ต้องคำนึงถึงปริมาณของเสียที่แหล่งน้ำจะสามารถรับไว้ได้ด้วย นั่นคือจะต้องขึ้นอยู่กับปริมาตรของน้ำ ที่จะใช้ ในการเจือจาง และขึ้นกับอัตราการไหลของน้ำในแหล่งนี้ วิธีนี้จึงต้องใช้พื้นที่มาก ปริมาตรมาก จึงจะทำให้เกิดความเจือจางขึ้นได้ ตามมาตรฐานสากลนั้นน้ำสะอาด ควรมีค่าบีโอดี 2 มิลลิกรัมต่อลิตร จึงใช้เป็นน้ำดื่มได้ หากค่าบีโอดีมากกว่า 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ถือได้ว่าน้ำนั้นมีโอกาสเน่าเสียได้ ส่วนน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน และแหล่งอุตสาหกรรมมีค่าสารแขวนลอย 30 มิลลิกรัมต่อลิตรและค่าบีโอดี 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นน้ำทิ้งเมื่อถูกเจือจางด้วยน้ำเสียจากแม่น้ำหรือทะเล 8 เท่าตัว จะทำให้ค่าบีโอดีไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อลิตร จึงไม่มีความเน่าเสีย

           3. การทำให้กลับสู่สภาพดี แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
          วิธีนี้เป็นการทำน้ำเสียให้กลับมาเป็นน้ำดี เพื่อนำมาใช้ต่อไปได้อีก มักกระทำในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งจะมีผลดีเกิดขึ้น คือลดปริมาณของเสียที่ปล่อยออกจากโรงงาน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิต เนื่องจากนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ได้อีก น้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่นี้อาจมีคุณสมบัติด้อยกว่าน้ำที่ใช้ครั้งแรกดังนั้นจึงนำไปใช้เป็นน้ำทำความสะอาด รดต้นไม้ เป็นต้น

           4. การควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ
          การควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำเป็นการป้องกันและลดการนำสารมลพิษลงสู่แหล่งน้ำ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้กำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆให้มีค่าของสารแขวนลอย 30 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่าบีโอดี 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จะต้องตั้งอุปกรณ์กำจัดน้ำเสียและดำเนินการกำจัดน้ำเสีย ให้ได้มาตรฐาน ดังที่กำหนดไว้ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

            การกำจัดน้ำทิ้ง จากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นการกำจัดสิ่งปนเปื้อนที่ทำให้น้ำเสียอยู่ในเกณฑ์ต่ำสุดที่จะปล่อย ลงสู่แหล่งน้ำ ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดมาตรฐาน น้ำทิ้งจาก
โรงงานอุตสาหกรรม ที่กำหนดให้โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) และกระทรวงอุตสาหกรรมของประเทศไทย กำหนดได้ตามตารางมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม

หลักการป้องกันน้ำเสีย

วิธีในการป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษทางน้ำมีหลายวิธี โดยที่เราสามารถมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพที่ดี
ของแหล่งน้ำได้โดย

                           - ไม่ทิ้งของเสียลงสู่แหล่งน้ำ และทางระบายน้ำสาธารณะ
                           - บำบัดน้ำเสียขั้นต้น ก่อนระบายลงแหล่งน้ำหรือท่อระบายน้ำ
                           - ช่วยกันลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในบ้านเรือน
                           - ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช ในกิจกรรมทางการเกษตร
                             หรือสารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน
                           - ควรนำน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์
                           - สำรวจเพื่อลดปริมาณน้ำเสียของแต่ละขั้นตอนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
                           - สร้างจิตสำนึกของประชาชนในตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาคุณภาพแหล่งน้ำ
                             และประหยัดการใช้น้ำเท่าที่จำเป็น

ที่มา:http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter3/chapter3_water10.htm


ผลกระทบทางน้ำ

เมื่อในแหล่งน้ำต่างๆเสื่อมคุณภาพลง เนื่องจากสาเหตุต่างๆที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบสิ่งแวดล้อมอื่นๆด้วย เช่น

1.การเกษตร น้ำเสียที่ส่งผลกระทบต่อการเกษตรนั้นเกิดขึ้นจากน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีความเป็นกรด-ด่างสูง เมื่อถูกปล่อยลงแหล่งน้ำโดยไม่มีการบำบัดเสียก่อน จึงทำให้น้ำมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์

2.การประมง สารพิษที่อยู่ในน้ำอาจทำให้สัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้ง หอย ค่อยๆลดจำนวนลงเพราะไม่สามารถทนกับความเป็นกรดได้ น้ำเสียที่มีสารพิษมากๆจะทำให้ปลาตายทันที แต่น้ำเสียมีเกิดจากการลดปริมาณของออกซิเจนในน้ำ จะทำให้ปลาค่อยๆลดจำนวนลง ส่งผลให้ปลาตัวอ่อนๆที่เป็นอาหารของปลาตัวใหญ่ลดจำนวนลง ทำให้ปลาขาดแหล่งอาหาร และสารพิษที่อยู่ในปลาก็ไม่มีคุณภาพที่เหมาะสมในการเอามาบริโภค

3.การอุตสาหกรรม น้ำถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการดำเนินงานของอุตสาหกรรม ถ้าน้ำในแหล่งน้ำมีคุณภาพที่ไม่เหมาะสม ก่อนนำไปใช้ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นอกจากค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอุปกรณ์ เครื่องจักรที่เสียหายเนื่องจากการใช้น้ำไม่ได้คุณภาพด้วย 
                         
4.การผลิตน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค น้ำเสียกระทบต่อการผลิตน้ำประปา เมื่อแหล่งน้ำเกิดเน่าเสียคุณภาพน้ำลดลงทำให้ค่าใช้จ่ายวนการผลิตน้ำได้มาตรฐานน้ำดื่มเพิ่มขึ้น การเลือกแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคก็ยากขึ้นด้วย

5.เศรษฐกิจและสังคม น้ำทิ้งที่เกิดจากโรงงาน โรงพยาบาล ตลาด ร้านอาหาร ชุมชน จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงงานบำบัดน้ำทิ้ง ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจ และเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมเนื่องจากมักจะส่งกลิ่นเหม็นและยังแสดงถึงความสะอาดของบ้านเมืองด้วย
6.การสาธารณสุข น้ำเสียเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและสุขอนามัยของประชาชน โรคระบาด เช่น อหิวา โรคบิด ล้วนเกิดจากน้ำเสียเป็นพาหนะ และน้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุสาหกรรมที่มีสารพิษเจือปนทำให้เกิดโรคร้ายแรง ทำลายสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น โรค มินามาตะ อิไต-อิไต น้ำเสียนั้นส่งกลิ่นเน่าเหม็น ขาดออกซิเจน ประชาชนบริเวณนั้นต้องหายใจเอาอากาศไม่บริสุทธิ์เข้าไป ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง ส่วนผู้ที่ใช้น้ำในแหล่งที่มีน้ำเสีย อาจมีอาการท้องร่วง เป็นผื่น และสารพิษเหล่านั้นเมื่ออยู่ในน้ำ สัตว์น้ำทั้งหลายก็ย่อมมีสารพิษสะสมอยู่ เวลาคนนำสัตว์มาบริโภค ก็เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย รวมทั้งการส่งกลิ่นเหม็น ก่อให้เกิดความรำคาญ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรค และสารพิษที่มีพิษมากก็จะส่งผลต่อระบบประสาท                                                                                                        
7.การท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ เพราะแหล่งน้ำบางแห่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ทะเล บึง ถ้าเกิดความสกปรกเน่าเสีย ก็จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ก็ให้เกิดความรำคาญจากกลิ่นเหม็น ความไม่น่าดู น้ำเสียจึงมีผลต่อความสวยงามและการพักผ่อนหย่อนใจ ทะเล บึง ที่สะอาดเป็นความสวยงาม ก็จะผู้ใช้บริการมาก ทำให้การท่องเที่ยวเจริญเติบโต และการมีแม่น้ำ บึง ทะเลที่สะอาด งดงามตามธรรมชาติ ทำให้คนคลายความตึงเครียด จิตใจเบิกบาน เกิดอารมณ์ด้านจินตนาการต่างๆ

  • ที่มา:http://pirun.ku.ac.th/~b521080095/Untitled-6.html


สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางน้ำ
สาเหตุของมลพิษทางน้ำ

1. ธรรมชาติ แหล่งน้ำต่างๆ อาจเกิดจากการเน่าเสียได้เองเมื่ออยู่ในภาวะที่ขาดออกซิเจน ส่วนใหญ่มีสาเหตุเกิดจากการเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็วของแพลงค์ตอน แล้วตายลงพร้อม ๆ กันเมื่อ จุลินทรีย์ทําการย่อยสลายซากแพลงค์ตอนทําให์ออกซิเจนในน้ำถูกนําไปใช้มาก จนเกิดการขาดแคลนได้ นอกจากนี้การเน่าเสียอาจเกิดได้อีกประการหนึ่งคือ เมื่อน้ำอยู่ในสภาพนิ่งไม่มีการหมุนเวียนถ่ายเท
2. น้ำทิ้ง และสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน ได้แก่ อาคาร บ้านเรือน สํานักงาน อาคารพาณิชย์ โรงแรม เป็นต้น สิ่งปะปนมากับน้ำทิ้งประกอบด้วยสารอินทรีย์ซึ่งจะถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลายสาร อินทรีย์ที่สําคัญคือ แบคทีเรีย ซึ่งมีทั้งแบคทีเรียแอโรบิก (aerobic bacteria) เป็นแบคที่เรียที่ต้องใช้ออกซิเจนอิสระในการย่อยสลายสารอินทรีย์ กับแบคทีเรียแอนาโรบิก (anaerobic bacteria) เป็นแบคทีเรียที่ยอยสลายสารอินทรีย์ได้โดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจนอิสระ อีกชนิดหนึ่งคือ แบคทีเรียแฟคัลเตตีฟ (facultativebacteria)เป็นแบคทีเรียพวกที่สามารถดํารง ชีวิตอยู่ได้ทั้งอาศัยและไม.ต.องอาศัยออกซิเจนอิสระ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณออกซิเจนในสภาวะ แวดล้อมนั้น บทบาทในการย่อยสลายสารเหล่านี้ของแบคทีเรียแอโรบิกต้องใชออกซิเจน ในปริมาณมาก ทําให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ(ดีโอ DO = dissolved oxygen) ลดลงต่ำมาก ตามปกติน้ำในธรรมชาติจะมีออกซิเจนละลายปนอยู่ประมาณ 8 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ 8 ส่วนในล้านส่วน (ppm) โดยทั่วไปค่า DO ต่ำกว่า 3 มิลลิกรัม/ลิตรจัดเป็นน้ำเสีย การหาปริมาณของออกซิเจนที่จุลินทรีย.ต.องการใช.ในการย.อยสลายอินทรียสารใน น้ำ (biochemical oxygen demand) เรียกย่อว่า BOD เป็นการบอกคุณภาพน้ำได้ ถ้าค่า BOD สูง แสดงว่าในน้ำนั้นมีอินทรียสารอยู่มาก การย่อยสลายอินทรียสารของจุลินทรีย์ต้องใช้ออกซิเจน ทําให้ออกซิเจนในน้ำเหลืออยู่น้อย โดยทั่วไปถ้าในแหล่งน้ำใดมีค่า BODสูงกว่า 100มิลลิกรัม/ลิตร จัดว่าน้ำนั้นเป็นน้ำเสียถ้าในแหล่งน้ำนั้นมีค่า BODสูงหรือมีอินทรียสาร มาก ปริมาณออกซิเจนในน้ำจะลดน้อยลงแบคทีเรียแอโรบิกจะลดน้อยลงด้วย อินทรียสาร จะถูกสลายด้วยแบคทีเรียแอนาโรบิกและแบคทีเรียแฟคัลเตตีฟต่อไป ซึ่งจะทําให้ก๊าซต่าง ๆ เช่น มีเทน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ แอมโมเนีย ก๊าซเหล่านี้เองที่ทําให้เกิดกลิ่นเหม็นและสีของน้ำ เปลี่ยนไปนอกจากสารอินทรีย.แล.ว ตามแหล.งชุมชนยังมีผงซักฟอกซึ่งเป.นตัวลดความตึงผิว ของน้ำ ซึ่งหมุนเวียนไปสู.คนได.ทางโซ.อาหาร
3. การเกษตร เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้น้ำเสีย เช่น การเลี้ยงสัตว์ เศษอาหารและน้ำทิ้งจากการ ชําระคอกสัตว์ ทิ้งลงสู่แม่น้ำ ลําคลอง ซึ่งก่อให้เกิดโรคระบาด การใช้ปุ๋ยไนเตรตของเกษตรกร เมื่อปุ๋ยลงสู่แหล่งน้ำจะทําให้น้ำมีปริมาณเกลือไนเตรตสูงถ้าดื่มเข้าไปจะทําให้เป็นโรคพิษไนเตรต ไนเตรตจะเปลี่ยนเป็นไนไตรต์แล้วรวมตัวกับฮีโมโกลบินอาจทําให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้เกษตรกรนิยมใช้สารกําจัดศัตรูพืชมากขึ้น สารที่ตกค้างตามต้นพืช และตามผิวดิน จะถูกชะล้างไปกับน้ำฝนและไหลลงสู่แหล่งน้ำ สารที่สลายตัวช้าจะสะสมในแหล่งน้ำ นั้นมากขึ้นจนเป็นอันตรายได้
4. โรงงานอุตสาหกรรม ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานปลาป่น โรงงาน ผลิตภัณฑ์นม โรงโม่แป้ง โรงงานทําอาหารกระป๋อง ส่วนใหญ่มีสารอินทรีย์พวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรตปนอยู่มากสารอินทรีย์ที่ถูกปล่อยออกมากับน้ำทิ้งนี้ก็จะถูกย่อยสลายทําให้เกิดผล เช่นเดียวกับน้ำทิ้งที่ถูกปล่อยจากชุมชน นอกจากนี้อาจมีสารพิษชนิดอื่นปะปนอยู่ด้วย ขึ้นอยู่กับ ประเภทของโรงงาน เช่นปรอทจากโรงงานผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นสารพิษต่อสัตว์น้ำ และผู้นําสัตว์น้ำไปบริโภคนอกจากนี้น้ำทิ้งจากโรงงานบางประเภท ทําให้สภาพกรดเบส ของแหล่งน้ำนั้นเปลี่ยนไป เช่นน้ำทิ้งจากโรงงานกระดาษมีค่า pH สูงมาก น้ำทิ้งจากโรงงาน บางประเภท เช่นจากโรงไฟฟ้าอาจทําให้อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงไป สภาพเช่นนี้ไม่ เหมาะกับการดํารงชีพของสิ่งมีชีวิตในน้ำ
5. การคมนาคมทางน้ำ ในการเดินเรือตามแหล่งน้ำ ลําคลอง ทะเล มหาสมุทร มีการทิ้งของ เสียที่ประกอบด้วยสารอินทรีย์ และน้ำมันเชื้อเพลิงถ้ามีโอกาสรั่วไหลลงน้ำได้และมีจํานวนมาก ก็จะทําให้สัตว์น้ำขาดออกซิเจน และเป็นผลเสียต่อระบบนิเวศ

ผลกระทบของมลพิษทางน้ำ
1. การประมง น้ำเสียทําให้สัตว์น้ำลดปริมาณลง น้ำเสียที่เกิดจากสารพิษอาจทําให้ปลาตายทัน ที ส่วนน้ำเสียที่เกิดจากการลดต่ำของออกซิเจนละลายในน้ำถึงแม้จะไม่ทําให้ปลาตายทันที แต่อาจทำลายพืชและสัตวน้ำเล็ก ๆ ที่เป็นอาหารของปลาและตัวอ่อน ทําให้ปลาขาดอาหาร ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการประมงและเศรษฐกิจ ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำถ้าหารลด จํานวนลงมาก ๆ ในทันทีก็อาจทําให้ปลาตายได้นอกจากนี้น้ำเสียยังทําลายแหล่งเพาะวางไข่ ของปลาเนื่องจากการตกตะกอนของสารแขวนลอยในน้ำเสียปกคลุมพื้นที่วางไข่ของปลา ซึ่งเป็นการหยุดยั้งการแพร่พันธุ์ ทําให้ปลาสูญพันธุ์ได้
2. การสาธารณสุข น้ำเสียเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ทําให้เกิดโรคระบาด เช่น โรคอหิวาตกโรค ไทฟอยด์ บิด เป็นแหล่งเพาะเชื้อยุงซึ่งเป็นพาหะของโรคบางชนิด เช่น มาเลเรีย ไข้เลือดออก และสารมลพิษที่ปะปนในแหล่งน้ำ ถ้าเราบริโภคทําให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรค มินามาตะ เกิดจากการรับประทานปลาที่มีสารปรอทสูง โรคอิไต-อิไต เกิดจากการได้รับสาร แคดเมียม
3. การผลิตน้ำแพื่อบริโภคและอุปโภค น้ำเสียกระทบกระเทือนต่อการผลิตน้ำดื่ม น้ำใช้อย่าง ยิ่ง แหล่งน้ำสําหรับผลิตประปาได้จากแม่น้ำ ลําคลอง เมื่อแหล่งน้ำเน่าเสียเป็นผลให้ คุณภาพน้ำ ลดลง ค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตเพื่อให้น้ำมีคุณภาพเข้าเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มจะเพิ่มขึ้น
4. การเกษตร น้ำเสียมีผลต่อการเพาะปลูก และสัตว์น้ำ น้ำเสียที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ การเกษตร ส่วนใหญ่เป็นน้ำเสียที่มีความเป็นกรดเป็นด่างสูง น้ำที่มีปริมาณเกลืออนินทรีย์ หรือ สารพิษสูง ฯลฯ ซึ่งเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียและเกิดจากผลของการทํา เกษตรกรรมนั่นเอง เช่น การชลประทาน สร้างเขื่อนกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร ทั้งนี้เนื่องจากคุณสมบัติน้ำในธรรมชาติประกอบด้วยเกลืออนินทรีย์เจือปนอยู่โดยเฉพาะ เกลือคลอไรด์ ขณะที่ใช้น้ำเพื่อการเกษตร น้ำจะระเหยเป็นไอโดยธรรมชาติ ปริมาณเกลือ อนินทรีย์ซึ่งได้ระเหยจะตกค้างในดิน เมื่อมีการสะสมมากเข้า ปริมาณเกลือในดินสูงขึ้น ทําให้ดินเค็มไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ปริมาณเกลืออนินทรีย์ที่ตกค้างอาจถูกชะล้าง ภายหลังฝนตก หรือโดยระบายน้ำจากการชลประทาน เกลืออนินทรีย์จะถูกถ่ายทอดลงสู่ แม่น้ำในที่สุด
5. ความสวยงามและการพักผ่อนหย่อนใจ แม่น้ำ ลําธาร แหล่งน้ำอื่น ๆ ที่สะอาดเป็นความ สวยงามตามธรรมชาติ ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น ใช้เล่นเรือ ตกปลา ว่ายน้ำ เป็นต้น

 
ที่มา:http://www.rmuti.ac.th/user/thanyaphak/Web%20EMR/Web%20IS%20Environmen%20gr.4/Mola1.html




วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557


                  การวางเเผน

1.สมาชิกในกลุ่มช่วยกันอภิปลายว่ามีหัวข้ออะไรบ้าง

2.แบ่งหน้าที่กันว่าใครทำอะไร

3.ไปหาข้อมูลตามที่ได้วางเเผนไว้

4.ไปถามครูที่ปรึกษาประจำกลุ่ม

5.ไปปรับปรุงใหม่

6.นำข้อมูลไปบันทึกในไมโครออฟฟิส


ขยะ  คือ   ของเหลือทิ้งจากการใช้สอยของมนุษย์หรือจากขบวนการผลิตจากกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม  
                           ปัจจุบันขยะมูลฝอย   เป็นปัญหาวิกฤตที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น  จะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรวมและยังส่งผล 
                           กระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน  ในปี พ.ศ.2545  มีปริมาณขยะมูลฝอยจากชุมชนทั่วประเทศประมาณ  14.2  ล้านตัน  และมีการนำขยะ
และวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ใหม่  2.7  ล้านตัน  คิดเป็นร้อยละ  19  ของขยะมูลฝอยชุมชน



ที่มา  http://www.promma.ac.th/main/local_education/unit8/p3.html..htm

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ตุั้งคำถาม

ทำไมผู้คนต้องปล่อยน้ำสกปรกลงในเเม่น้ำมากกว่าจะช่วยกันรักษาความสะอาดของเเม่น้ำ เพราะเหตุใด

การตัังสมมุติฐาน

คาดว่าผูัคนต้องปล่อยน้ำสกปรกลงในเเม้่น้ำให้น้อยกว่านี้ เพื่อที่จะช่วยรักษาความสะอาดของเเม่น้ำ

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



การตั้งคำถาม


1.ทำไมผู้คนถึงต้องปล่อยนำ้สกปรกลงในแม่น้ำมากกว่าจะช่วยรักษาความสะอาดของแม่น้ำ 


           เพราะเหตุใด
   
          2.ถ้าคนตัดไม้ทำลายป่า จนไม่คิดผลที่จะตามมาเพราะจะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน
           
           เราควรทำอย่างไร

   
          3.ถ้าคนเราทิ้งขยะไม่ลงถัง และไม่ช่วยทิ้งขยะให้ลงถัง บ้านเมืองเราจะไม่สะอาด

             และจะไม่น่าอยู่เราควรปฏิบิติตนอย่างไร


เลือกคำถามข้อ 1 เหตุผลที่เลือกเพราะเราจะไม่เหลือสิ่งที่สวยงามให้ดูเช่น น้ำ ป่าไม้ และทุกสิ่งทุกอย่าง

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



1.ทำไมจึงมีขยะในน้ำ
2.ทำไมคนถึงไม่รักษาน้ำ
3.ทำไมทุกคนถึงทิ้งขยะ
4.ทำไมน้ำถึงเสีย
5.ทำไมทุกคนไม่รักสะอาด
6.ทำไมคนเราถึงรักความสกปรก




 

1.ทำไมเด็กต้องหนีเรียน
2.ทำไมเด็กถึงขี้เกียจเรียน
3.ทำไมเด็กต้องกลัวคุณครู
4.ทำไมเด็กต้องหนีเรียนไปเล่นเกมส์

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



ประวัติของผู้เขียนบล็อก

ชื่อ เด็กชาย ธีรยุทธ์ ศรีบริรักษ์ ชื่อเล่น เบิร์ด เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ

วันเกิด 09 พ.ย. 2543 สถานที่เกิด โรงพยาบาลชะอวด บิดาชื่อ นาย ปรีชา ศรีบริรักษ์ 

มารดาชื่อ นางสุจารี  ใจกระจ่าง ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 79/2 ม.1 ต.ควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด 

จ.นครศรีธรรมราช  สามารถติดต่อได้ที่ www.facebook.com/น๊องเบิด'ดด บ้าบอ 

นิสัยส่วนตัว ไม่ชอบคนเอาแต่ใจตัวเอง อาชีพที่ตัวเองอยากจะเป็น ครู


ชื่อ เด็กหญิง ยุวดี เอียดดด้วงชื่อเล่น โบว์ เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ

วันเกิด 29 ต.ค 2543สถานที่เกิด โรงพยาบาลชะอวด  

บิดาชื่อ นายบรรจบ เอียดด้วง มารดาชื่อ นางสายพิน เอียดด้วง 

ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 24 ม 10 ต.เคร็ง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

สามารถติดต่อได้ที่ เบอร์0937640092 // www.facebook.com/Yuwadi Bow Aiadduang

นิสัยส่วนตัว ตลก เฮฮา บ้าๆๆ บ๋องงๆ อาชีพที่ยากเป็น ครู